Monday, October 20, 2008

การจัดประสบการณ์หน่วย ข้าว สัปดาห์ที่ 13



ภาพที่ 1 วิทยากรอธิบายลักษณะของต้นข้าว ขั้นตอนการทำนาของชาวนาและแนะนำขั้นตอนการปลูกข้าวในกระถางให้กับเด็ก ๆ


ภาพที่ 2 เมื่อเด็ก ๆ ฟังวิทยากรอธิบายขั้นตอนการปลูกข้าวในกระถางแล้ว เด็ก ๆ ปลูกข้าวด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรคอยให้ความช่วยเหลือ



ภาพที่ 3 เด็ก ๆ บันทึกการเจริญเติบโตต้นข้าวที่ตนเองปลูก



ภาพที่ 4 เด็ก ๆท่องคำคล้องจองรีรีข้าวสาร เล่นการละเล่นพื้นบ้านอย่างสนุกสนาน



ภาพที่ 5 เกมจัดหมวดหมู่ภาพข้าวกับสัญลักษณ์


ภาพที่ 6 เกมจับคู่ภาพเหมือนขนมที่ทำจากข้าวแบบเขาวงกรต

วันที่ 1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3. เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการได้
4. เด็กเคลื่อนไหวตามคำบรรยายได้
เนื้อหา
การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยเคลื่อนไหวร่างกายเดินสลับเท้าไปรอบ ๆ ห้องตามการเคาะจังหวะ โดยไม่ชนกับเพื่อน
3. เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
4. ครูให้สัญญาณหยุดโดยการรัวเครื่องเคาะจังหวะ
5. เด็ก ๆ เคลื่อนไหวตามจินตนาการโดยฟังคำบรรยายจากครู
สื่อการเรียนรู้
เครื่องเคาะจังหวะ
ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
4. สังเกตการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและตอบคำถามครูได้
2. เด็กสนทนาร่วมกับเพื่อนและครูได้
3. เด็กสังเกตลักษณะของต้นข้าวได้
4. เด็กเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
เนื้อหา
การสนทนาลักษณะของต้นข้าว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กทบทวนการระดมความคิดในเรื่องที่สนใจ
“หัวข้อที่เราสนใจคือเรื่องอะไร”
“เด็ก ๆ ต้องการเพิ่มเติมส่วนไหน อยากรู้อะไรเพิ่มเติม และเพราะอะไร”
3. เด็ก ๆสังเกตลักษณะของต้นข้าว พร้อมทั้งสนทนาซักถาม
“ต้นข้าวมีลักษณะอย่างไร”
“ต้นข้าวมีลักษณะคล้ายกับอะไร”
4. ครูชี้คำ “ต้นข้าว” ที่อยู่ตรงกระดาษเพื่อให้เด็กสังเกต
5. เด็ก ๆวาดภาพและบันทึกลักษณะของต้นข้าวที่สังเกต
สื่อการเรียนรู้
หนังสือรอบรู้ท้องทะเล
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและตอบคำถามครู
2. สังเกตการสนทนาร่วมกับเพื่อนและครู
3. สังเกตการบอกลักษณะของต้นข้าว
4. สังเกตการเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำได้
2. เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
กิจกรรมศิลปะได้แก่ 1. กิจกรรมสีน้ำ 2.กิจกรรมสีเทียน 3. กิจกรรมฉีกปะ 4.กิจกรรมปั้นแป้งโด 5. กิจกรรมร้อยลูกปัด
กิจกรรมใหม่ คือ หยดสี
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“เก็บของเล่นเข้าที่”
“ทำความสะอาดอุปกรณ์”
2. ครูแนะนำอุปกรณ์ใหม่และวิธีการใช้คือ หยดสี
3. เด็ก เลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะ
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
2. สังเกตการเลือกกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่

กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
มุมประสบการณ์ที่มีอุปกรณ์ใหม่ได้แก่ มุมวิทยาศาสตร์คือ ต้นข้าว
มุมศิลปะคือ หยดสี และมุมเกมการศึกษาคือ เกมต่อภาพข้าว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“ เก็บของเล่นเข้าที่หลังได้ยินสัญญาณเปลี่ยนมุม ”
“ ไม่ส่งเสียงดัง ”
2. ครูแนะนำมุมใหม่พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์
3. เด็กเลือกเข้ามุมประสบการณ์ตามความสนใจ
4. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรี
5. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในมุมประสบการณ์
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. สังเกตการเด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กบอกข้อตกลงในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
3. เด็กเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. เด็กตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
เนื้อหา
การเล่นเครื่องเล่นสนาม
กิจกรรม
1. เด็กและครูทบทวนข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กเตรียมอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นเครื่องเล่นสนาม
3. เด็กเล่นเครื่องเล่นสนาม
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นเครื่องเล่นสนาม
สื่อการเรียนรู้
เครื่องเล่นสนาม
ประเมินผล
1. สังเกตการบอกข้อตกลงในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
3. สังเกตการเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. สังเกตการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. เด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. เด็กสังเกตและจำแนกได้
4. เด็กเอื้อเฟื้อและรอคอยได้
เนื้อหา
เกมต่อภาพข้าว
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“การเก็บของเข้าที่”
“ดูแลรักษาสิ่งของ ไม่ทำลายข้าวของ”
2. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมการศึกษา
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกมการศึกษา
4. เด็กผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
เกมต่อภาพข้าว
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. สังเกตการเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. สังเกตการสังเกตและจำแนกได้
4. สังเกตการเอื้อเฟื้อและรอคอยได้

วันที่ 2 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3. เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการได้
4. เด็กเคลื่อนไหวตามคำบรรยายได้

เนื้อหา
การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยเคลื่อนไหวเดินซิกแซกไปข้างหน้า ตามการเคาะจังหวะ โดยไม่ชนกับเพื่อน เคาะจังหวะ หนัก- เบา
3. เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
4. ครูให้สัญญาณหยุดโดยการรัวเครื่องเคาะจังหวะ
5. เด็ก ๆ เคลื่อนไหวตามจินตนาการตามคำบรรยาย เช่น ชาวนาตื่นแต่เช้า ออกเดินทางไปทุ่งนา ชาวนาก้มลงช่วยกันปลูกข้าวลงในทุ่งนาอันเขียวชอุ่ม มีเสียงนกร้อง ฯลฯ
สื่อการเรียนรู้
เครื่องเคาะจังหวะ
ซีดีเพลง
ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
4. สังเกตการเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางกรว่ายน้ำของปลา

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและตอบคำถามครูได้
2. เด็กสนทนาร่วมกับเพื่อนและครูได้
3. เด็กบอกขั้นตอนของการปลูกข้าวได้
4. เด็กเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
เนื้อหา
การสนทนาขั้นตอนของการปลูกข้าว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. ครูแนะนำภาพขั้นตอนของการปลูกข้าว
“เด็ก ๆสังเกตเห็นอะไรในภาพ”
“ชาวนามีวิธีการปลูกข้าวอย่างไร”
3. เด็ก ๆ เสนอความคิดเห็นของตนเอง
4. เด็ก ๆนำเสนอการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกข้าวที่โรงเรียน
สื่อการเรียนรู้
1. ปลาทูน่ากระป๋อง
2. แผ่นวางแผนการประกอบอาหาร
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและตอบคำถามครู
2. สังเกตการสนทนาร่วมกับเพื่อนและครู
3. สังเกตการบอกบอกขั้นตอนของการปลูกข้าว
4. สังเกตการเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำได้
2. เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
กิจกรรมศิลปะได้แก่ 1. กิจกรรมสีน้ำ 2.กิจกรรมสีเทียน 3. กิจกรรมฉีกปะ 4.กิจกรรมปั้นแป้งโด 5. กิจกรรมร้อยลูกปัด
กิจกรรมใหม่ คือ ปั้นแป้งโดกับเมล็ดข้าวเปลือก
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“เก็บของเล่นเข้าที่”
“ทำความสะอาดอุปกรณ์”
2. ครูแนะนำอุปกรณ์ใหม่และวิธีการใช้คือ นำเมล็ดพืชติดลงบนกระดาษ
3. เด็ก เลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะ
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
2. สังเกตการเลือกกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่

กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
มุมประสบการณ์ที่มีอุปกรณ์ใหม่ได้แก่ มุมอ่านคือ ภาพกับคำขั้นตอนการทำนา
มุมศิลปะคือ เมล็ดข้าวเปลือก และมุมเกมการศึกษาคือ เกมจับคู่ภาพต้นข้าวแบบโยงเชือก
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“ เก็บของเล่นเข้าที่หลังได้ยินสัญญาณเปลี่ยนมุม ”
“ ไม่ส่งเสียงดัง ”
2. ครูแนะนำมุมใหม่พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์
3. เด็กเลือกเข้ามุมประสบการณ์ตามความสนใจ
4. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรี
5. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในมุมประสบการณ์
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. สังเกตการเด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กบอกข้อตกลงในการเล่นรีรีข้าวสาร
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเล่นรีรีข้าวสาร
3. เด็กเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. เด็กตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
เนื้อหา
การเล่นเล่นรีรีข้าวสาร
กิจกรรม
1. เด็กและครูทบทวนข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กเตรียมอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นรีรีข้าวสาร
3. ครูแนะนำและบอกวิธีการเล่นเล่นรีรีข้าวสาร
- ครูท่องคำคล้องจอง รีรีข้าวสาร 2 รอบ
- ตัวแทน 2 คน จับมือเป็นซุ้มให้เพื่อนเดินลอด
- เมื่อท่องคำคล้องจองจบ จับตัวคนที่อยู่ตรงกลางเอาไว้
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นรีรีข้าวสาร
สื่อการเรียนรู้
-
ประเมินผล
1. สังเกตการบอกข้อตกลงในการเล่นรีรีข้าวสาร
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นรีรีข้าวสาร
3. สังเกตการเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. สังเกตการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. เด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. เด็กสังเกตและจำแนกได้
4. เด็กเอื้อเฟื้อและรอคอยได้
เนื้อหา
เกมจับคู่ภาพต้นข้าวแบบโยงเชือก
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“การเก็บของเข้าที่”
“ดูแลรักษาสิ่งของ ไม่ทำลายข้าวของ”
2. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมการศึกษา
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกมการศึกษา
4. เด็กผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
เกมจับคู่ภาพต้นข้าวแบบโยงเชือก
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. สังเกตการสังเกตและจำแนกได้
4. สังเกตการเอื้อเฟื้อและรอคอยได้

วันที่ 3 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3. เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการได้
4. เด็กเคลื่อนไหวเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติได้
เนื้อหา
การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยเคลื่อนไหวเดินรอบๆ ห้องตามการเคาะ
จังหวะ โดยไม่ชนกับเพื่อน
เคาะจังหวะ ช้า -เร็ว
3. เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
4. ครูให้สัญญาณหยุดโดยการรัวเครื่องเคาะจังหวะ
5. เด็ก ๆ เคลื่อนไหวตามจินตนาการเลียนแบบลักษณะของต้นข้าว เช่น ต้นข้าวพลิ้วไหว ฝนตกหนักต้นข้าวล้มกระจาย
สื่อการเรียนรู้
เครื่องเคาะจังหวะ
ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
4. สังเกตการเคลื่อนไหวเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและตอบคำถามครูได้
2. เด็กสนทนาร่วมกับเพื่อนและครูได้
3. เด็กบอกลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนาได้
4. เด็กเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
เนื้อหา
การสนทนาถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนาของชาวนา
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. ครูทบทวนการนำเสนอความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกข้าว
3. ครูนำเสนอภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนาของชาวนา
4. เด็กสังเกตภาพแล้วเสนอความคิดเห็น
“อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนามีอะไรบ้าง”
“อุปกรณ์แต่ละชนิดเด็ก ๆ คิดว่ามีวิธีการใช้อย่างไร”
5. ครูยกตัวอย่างเมล็ดข้าวที่ชาวนำมาปลูกข้าว
6. เด็ก ๆ สังเกตลักษณะของเมล็ดข้าวเปลือกที่ใช้ในการทำนา
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนา
2. เมล็ดข้าวเปลือก
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและตอบคำถามครู
2. สังเกตการสนทนาร่วมกับเพื่อนและครู
3. สังเกตการบอกลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนา
4. สังเกตการเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำได้
2. เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
กิจกรรมศิลปะได้แก่ 1. กิจกรรมสีน้ำ 2.กิจกรรมสีเทียน 3. กิจกรรมฉีกปะ 4.กิจกรรมปั้นแป้งโด 5. กิจกรรมร้อยลูกปัด กิจกรรมใหม่ คือ แรเงาเมล็ดข้าวเปลือกด้วยสีเทียน
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“เก็บของเล่นเข้าที่”
“ทำความสะอาดอุปกรณ์”
2. ครูแนะนำอุปกรณ์ใหม่และวิธีการใช้คือ แรเงาเมล็ดข้าวเปลือกด้วยสีเทียน
3. เด็ก เลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะ
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
2. สังเกตการเลือกกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่

กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
มุมประสบการณ์ที่มีอุปกรณ์ใหม่ได้แก่ มุมอ่าน คือ ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนากับคำ
มุมศิลปะคือ แรเงาเมล็ดข้าวเปลือกด้วยสีเทียน และมุมเกมการศึกษาคือ เกมจัดหมวดหมู่ข้าวกับคำ
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“ เก็บของเล่นเข้าที่หลังได้ยินสัญญาณเปลี่ยนมุม ”
“ ไม่ส่งเสียงดัง ”
2. ครูแนะนำมุมใหม่พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์
3. เด็กเลือกเข้ามุมประสบการณ์ตามความสนใจ
4. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรี
5. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในมุมประสบการณ์
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. สังเกตการเด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กบอกข้อตกลงในการเล่นเกมค้นหาคำ
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเกมค้นหาคำ
3. เด็กเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. เด็กตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
เนื้อหา
การเล่นเกมค้นหาคำ
กิจกรรม
1. เด็กและครูทบทวนข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กเตรียมอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นเกมค้นหาคำ
3. ครูแนะนำและบอกวิธีการเล่นเกมค้นหาคำ
- ครูแนะนำบัตรคำ ได้แก่ ข้าวสาร ข้าวเปลือก
- เด็ก ๆ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มหาบัตรคำ 1 ชุด
- เด็ก ๆ ค้นหาคำชุดของตนเองให้พบ เช่น กลุ่มที่ 1 หาคำว่าข้าวสาร กลุ่มที่ หาคำว่าข้าวเปลือก
- เด็ก ๆ วิ่งออกมาหาคำแล้วหย่อนบัตรคำลงตะกร้าจนครบทุกคน
4. เด็กเล่นเครื่องเล่นเกมค้นหาคำ
5. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นเกมค้นหาคำ
สื่อการเรียนรู้
บัตรคำ
ประเมินผล
1. สังเกตการบอกข้อตกลงในการเล่นเกมค้นหาคำ
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเกมค้นหาคำ
3. สังเกตการเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. สังเกตการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. เด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. เด็กสังเกตและจำแนกได้
4. เด็กเอื้อเฟื้อและรอคอยได้
เนื้อหา
เกมจัดหมวดหมู่ข้าวกับคำ
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“การเก็บของเข้าที่”
“ดูแลรักษาสิ่งของ ไม่ทำลายข้าวของ”
2. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมการศึกษา
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกมการศึกษา
4. เด็กผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
เกมจัดหมวดหมู่ข้าวกับคำ
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. สังเกตการสังเกตและจำแนกได้
4. สังเกตการเอื้อเฟื้อและรอคอยได้


วันที่ 4 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3. เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการได้
เนื้อหา
การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยเคลื่อนไหวร่างกายเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ห้องตามการเคาะจังหวะ โดยไม่ชนกับเพื่อน
3. เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
4. ครูให้สัญญาณหยุดโดยการรัวเครื่องเคาะจังหวะ
5. เด็ก ๆ เคลื่อนไหวตามจินตนาการเลียนแบบท่าทางการใช้อุปกรณ์ของชาวนา
สื่อการเรียนรู้
เครื่องเคาะจังหวะ
ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและตอบคำถามครูได้
2. เด็กสนทนาร่วมกับเพื่อนและครูได้
3. เด็กวางแผนในการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ได้
4. เด็กเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
เนื้อหา
การสนทนาวางแผนเชิญวิทยากร
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็ก และครูร่วมกันวางแผนเชิญวิทยาการมาให้ความรู้เรื่องข้าว
“เด็ก ๆคิดว่าเราจะหาวิทยากรได้จากที่ไหน”
“ใครจะมาเป็นวิทยากร”
“เด็ก ๆ รู้จักใครที่ปลูกข้าวและเป็นชาวนาบ้าง”
“อุปกรณ์ที่ควรนำมาใช้ในการปลูกข้าวมีอะไรบ้าง”
“การปฏิบัติตนของเด็ก ๆ เมื่อวิทยากรมาให้ความรู้”
3. เด็ก ๆ ร่วมกันเสนอความคิดเห็นของตนเองในการวางแผน
สื่อการเรียนรู้
แผนวางแผน
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและตอบคำถามครู
1. สังเกตการสนทนาร่วมกับเพื่อนและครู
2. สังเกตการวางแผนในการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้
3. สังเกตการเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำได้
2. เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
กิจกรรมศิลปะได้แก่ 1. กิจกรรมสีน้ำ 2.กิจกรรมสีเทียน 3. กิจกรรมฉีกปะ 4.กิจกรรมปั้นแป้งโด 5. กิจกรรมร้อยลูกปัด กิจกรรมใหม่ คือ ปะติดเมล็ดข้าวเปลือก กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“เก็บของเล่นเข้าที่”
“ทำความสะอาดอุปกรณ์”
2. ครูแนะนำอุปกรณ์ใหม่และวิธีการใช้คือ ระบายสีด้วยหมึกจีน
3. เด็ก เลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะ
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
2. สังเกตการเลือกกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่

กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
มุมประสบการณ์ที่มีอุปกรณ์ใหม่ได้แก่ มุมศิลปะคือ ปะติดเมล็ดข้าวเปลือก และมุมเกมการศึกษาคือ เกมจับคู่ภาพต้นข้าวแบบวงกลม
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“ เก็บของเล่นเข้าที่หลังได้ยินสัญญาณเปลี่ยนมุม ”
“ ไม่ส่งเสียงดัง ”
2. ครูแนะนำมุมใหม่พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์
3. เด็กเลือกเข้ามุมประสบการณ์ตามความสนใจ
4. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรี
5. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในมุมประสบการณ์
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. สังเกตการเด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กบอกข้อตกลงในการเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
3. เด็กเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. เด็กตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
เนื้อหา
การเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
กิจกรรม
1. เด็กและครูทบทวนข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กเตรียมอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
3. ครูแนะนำและบอกวิธีการเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
- เด็กเข้าแถวเป็น 2 กลุ่ม
- วิ่งผลัดเปลี่ยนกันเกมกรอกข้าวใส่ถังให้เต็ม
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
สื่อการเรียนรู้
1. แก้วน้ำขนาดเล็ก
2. ข้าว
3. ถังใบเล็ก
ประเมินผล
1. สังเกตการบอกข้อตกลงในการเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นเกมกรอกข้าวใส่ถัง
3. สังเกตการเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. สังเกตการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. เด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. เด็กสังเกตและจำแนกได้
4. เด็กเอื้อเฟื้อและรอคอยได้
เนื้อหา
เกมจับคู่ภาพต้นข้าวแบบวงกลม
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“การเก็บของเข้าที่”
“ดูแลรักษาสิ่งของ ไม่ทำลายข้าวของ”
2. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมการศึกษา
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกมการศึกษา
4. เด็กผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
เกมจับคู่ภาพต้นข้าวแบบวงกลม
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. สังเกตการสังเกตและจำแนกได้
4. สังเกตการเอื้อเฟื้อและรอคอยได้

วันที่ 5 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3. เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการได้
เนื้อหา
การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยเคลื่อนไหวหมุนตัวอยู่กับที่ ตามการเคาะจังหวะ โดยไม่ชนกับเพื่อน
3. เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
4. ครูให้สัญญาณหยุดโดยการรัวเครื่องเคาะจังหวะ
5. เด็ก ๆ เคลื่อนไหวตามจินตนาการแสดงสีหน้าท่าทาง เช่นชาวนารู้สึกร้อน
สื่อการเรียนรู้
เครื่องเคาะจังหวะ
ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและตอบคำถามครูได้
2. เด็กสนทนาร่วมกับเพื่อนและครูได้
3. เด็กปลูกข้าวตามขั้นตอนตามที่วิทยากรบอกได้
4. เด็กเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
เนื้อหา
การสนทนาลักษณะภายนอกของปลา
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กและครูทบทวนแผ่นวางแผนร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“เด็ก ๆ ปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อวิทยากรมาให้ความรู้”
“อุปกรณ์ต่าง ๆที่ใช้ในการปลูกข้าว”
3. ครูแนะนำวิทยาการที่มาให้ความรู้กับเด็ก ๆ
4. วิทยากรแนะนำตัวเองอีกครั้ง และให้ความรู้เรื่องข้าวกับเด็ก ๆ รวมทั้งขั้นตอนในการ
ปลูกข้าวลงในกระถาง มีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมดินลงกระถาง
2. คัดเมล็ดข้าวเปลือกเพื่อนำมาหยอดลงกระถาง
3. ใช้นิ้วมือกดดินเพื่อหยอดเมล็ดข้าวเปลือกลงไป
4. กลบดินบริเวณ หลุมที่หยอดเมล็ดข้าว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
5. เด็ก ๆปลูกข้าวตามที่วิทยากรอธิบาย
6. เด็ก ๆ ทำความสะอาดร่างกายหลังจากทำกิจกรรม
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการปลูกข้าว ได้แก่ กระถาง ดิน ถุงมือ เมล็ดข้าวเปลือก
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและตอบคำถามครู
2. สังเกตการสนทนาร่วมกับเพื่อนและครู
3. สังเกตการปลูกข้าวตามขั้นตอนตามที่วิทยากรบอก
4. สังเกตการเสนอและฟังความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำได้
2. เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
กิจกรรมศิลปะได้แก่ 1. กิจกรรมสีน้ำ 2.กิจกรรมสีเทียน 3. กิจกรรมฉีกปะ 4.กิจกรรมปั้นแป้งโด 5. กิจกรรมร้อยลูกปัด
กิจกรรมใหม่ คือ ระบายสีด้วยดินเหนียว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“เก็บของเล่นเข้าที่”
“ทำความสะอาดอุปกรณ์”
2. ครูแนะนำอุปกรณ์ใหม่และวิธีการใช้คือระบายสีด้วยดินเหนียว
3. เด็ก เลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
5. เด็กช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะ
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
2. สังเกตการเลือกกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของเข้าที่

กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้
เนื้อหา
มุมประสบการณ์ที่มีอุปกรณ์ใหม่ได้แก่ มุมวิทยาศาสตร์ คือเมล็ดข้าวเปลือก
มุมศิลปะคือ ดินเหนียว และมุมเกมการศึกษาคือ เกมโยงภาพทุ่งนา
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“ เก็บของเล่นเข้าที่หลังได้ยินสัญญาณเปลี่ยนมุม ”
“ ไม่ส่งเสียงดัง ”
2. ครูแนะนำมุมใหม่พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์
3. เด็กเลือกเข้ามุมประสบการณ์ตามความสนใจ
4. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรี
5. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในมุมประสบการณ์
ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ใหม่ได้
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตสำรวจได้
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนได้
5. สังเกตการเด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กบอกข้อตกลงในการเล่นห้องนิ่ม
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นห้องนิ่ม
3. เด็กเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. เด็กตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
เนื้อหา
การเล่นห้องนิ่ม
กิจกรรม
1. เด็กและครูทบทวนข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กเตรียมอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นห้องนิ่ม
3. เด็ก ๆเล่นห้องนิ่ม
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นห้องนิ่ม
สื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์ในการเล่นห้องนิ่ม
ประเมินผล
1. สังเกตการบอกข้อตกลงในการเล่นห้องนิ่ม
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเล่นห้องนิ่ม
3. สังเกตการเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. สังเกตการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. เด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. เด็กสังเกตและจำแนกได้
4. เด็กเอื้อเฟื้อและรอคอยได้
เนื้อหา
เกมโยงภาพทุ่งนา
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
กิจกรรม
1. เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำกิจกรรม
“การเก็บของเข้าที่”
“ดูแลรักษาสิ่งของ ไม่ทำลายข้าวของ”
2. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมการศึกษา
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกมการศึกษา
4. เด็กผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่
สื่อการเรียนรู้
เกมโยงภาพทุ่งนา
เกมที่เคยเล่นมาแล้ว
ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. สังเกตการสังเกตและจำแนกได้
4. สังเกตการเอื้อเฟื้อและรอคอยได้

1 comment:

NITTAYA said...

เนื้อเหมาะสมและกิจกรรมมีความหลากหลาย น่าสนใจ